ครั้งแรกในภาคตะวันออก ! เทศกาลแห่งสีสัน Festival of Colours (HOLI) Pattaya Thailand ชาวอินเดียและนับท่องเที่ยวไทย-เทศแห่ร่วมนับพัน
วันที่ 11 มี.ค.66 ที่บริเวณลานอเนกประสงค์ริมชายหาดพัทยากลาง เมืองพัทยา จ.ชลบุรี นางสาวภารดี เผือกโสภา ปลัดอาวุโสอำเภอบางละมุง พร้อมด้วย พล.ต.ต.ธีระชัย ชำนาญหมอ ผบก.สส.ภ.2 นายวิเชษฐ์ หนองใหญ่ รองประธานสภาเมืองพัทยา นายแมน อินทร์พิทักษ์ ว่าที่ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย เขต 9 จังหวัดชลบุรี พ.ต.อ.ฐนพงศ์ โพธิ์ทิ ผกก.สภ.เมืองพัทย นายนคร ผลลูกอินทร์ รองประธานสภา อบจ.ชลบุรี นายวิเชษฐ หนองใหญ่ รองประธานสภาเมืองพัทยา นายสุชาติ ขุนเจ๋ง สมาชิกสภาเมืองพัทยา นายมานะ ยาประคำ ประธานสภาวัฒนธรรมเมืองพัทยา นางอำพร แก้วแสง ประธาน กต.ตร.สภ.เมืองพัทยา นายสุขราช การลา ประธานสมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดียพัทยา Mr.Deo Kumar Singh รองนายกสมาคมอินเดียพัทยา พร้อม Mr.Laxman singh Mr.Naresh Chander Mr.Prem Vats Mr.KB Mahanta และ Mr.Ranjit singh คณะกรรมการสมาคมอินเดียพัทยา ร่วมเปิดงานเทศกาลแห่งสีสัน Festival of Colours (HOLI) Pattaya Thailand ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติ ชาวอินเดียในพัทยาและนักท่องเที่ยวต่างชาติ เข้าร่วมงาน
威而鋼
oads/2023/03/704862-1024×576.jpg” alt=”” width=”800″ height=”450″ />
สำหรับงานเทศกาลแห่งสีสัน Festival of Colours (HOLI) Pattaya Thailand เป็นความร่วมมือระหว่าง สมาคมนักธุรกิจไทย-อินเดียพัทยา ร่วมกับ สมาคมอินเดียพัทยา เมืองพัทยา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นเพื่อสร้างสีสีน เมืองพัทยา ให้สมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก ถือเป็นการเผยแพร่ส่งเสริม วัฒนธรรม และความหลากหลายของวิถีชีวิตชาวอินเดียผ่านเวทีเมืองท่องเที่ยวระดับโลก คือเมืองพัทยา ให้แพร่หลายออกสู่สายตานานาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ที่ดี ระหว่าง 2 ประเทศ โดยภายในงานได้แบ่งพื้นที่จัดออกเป็น 2 โซน คือโซนศาสนา ที่มีพิธีบูชาและสักการะองค์พระพิฆเณศ และพระกฤษณะ เพื่อความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อ และโซนกิจกรรมบันเทิง มีการละเล่นสาดสี ซึ่งเป็นสีออแกนิกส์ที่ไม่เป็นอันตรายเพื่อสร้างความสนุกสนานตาม ประเพณีการละเล่นของชาวฮินดู
โฮลีเฟสติวัล คือหนึ่งในเทศกาลรื่นเริงประจำชาติที่ชาวอินเดียรวมถึงนักท่องเที่ยวทั่วโลกต่างตั้งตารอคอย โฮลี่ แปลว่า การสิ้นสุดของปีเก่าเป็นเทศกาล สาดสี เทสีใส่กัน เป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู การสาดสีใส่กันนี้สันนิษฐานว่าเป็นที่มาของประเพณีการสาดน้ำของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เทศกาลสงกรานต์บ้านเรานั่นเอง……