วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 19, 2024
ข่าวด่วนชลบุรีพัทยาสังคม

รฟท.เปิดเวทีระดมความเห็นชาวชลบุรีสรุปผลรถไฟทางคู่สายตะวันออก เชื่อมขนส่งทางรางสู่ 3 ท่าเรือ

รฟท.เปิดเวทีระดมความเห็นชาวชลบุรี สรุปผลรถไฟทางคู่สายตะวันออก เชื่อมขนส่งทางรางสู่ 3 ท่าเรือ ยกระดับโครงข่ายโลจิสติกส์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

 

วันนี้ (25 พ.ย.62) ที่โรงแรมเฟิร์ส แปซิฟิก โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น พัทยา จ.ชลบุรี นายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อสรุปผลการออกแบบรายละเอียดโครงการงานศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความจุทางรถไฟ ช่วงหัวหมาก- ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และโครงการรถไฟทางคู่
ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมจำนวนมาก

โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออก ช่วงหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา-ศรีราชา และรถไฟทางคู่ ช่วงศรีราชา-มาบตาพุด มีระยะทางรวม 202 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อุตสาหกรรมหลักกับ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งและกระจายสินค้าไปยังทุกภูมิภาคอาเซียน ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังมาบตาพุดประมาณ 2 ชั่วโมง โดยคาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 2.3 ล้านคนต่อปี ในปีเปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.9 ล้านคนต่อปีในปี 2598 และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการขนส่งสินค้า 83 ล้านตันต้อปี ในปีที่เปิดให้บริการ และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 250 ล้านตันต่อปี ในปี 2598 ซึ่ง威而鋼 การพัฒนาระบบขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย นับเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ EEC รองรับการเดินทางและขนส่งสินค้าจากทั่วประเทศ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจ สนับสนุนการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชน ช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโต และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคและของอาเซียน

ทั้งนี้ รฟท. ให้ความสำคัญต่อการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกขั้นตอนของโครงการ เพราะถือว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินโครงการ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปได้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนความต้องการของประชาชน และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้นำเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากโครงการเพื่อลดผลกระทบ
ทั้งต่อการดำเนินชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นโครงการด้านๆ ต่าง อาทิ การแก้ไขปัญหา


จุดตัดทางรถไฟด้วยการสร้างสะพาน และทางลอดเพื่อความปลอดภัยการเดินทางและขนส่งทางรถไฟ
ลดผลกระทบด้านการจราจร การก่อสร้างรั้วตลอดแนวเส้นทางป้องกันไม่ให้ประชาชนและสัตว์เลี้ยงได้รับอันตรายจากการถูกรถไฟชนหรือถูกรถไฟดูด
นอกจากนั้นได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และกำหนดมาตรการป้องกัน เช่น การควบคุมน้ำท่วม และการระบายน้ำ โดยบริเวณก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำต้องมีตาข่ายรองรับโครงสร้างสะพานป้องกันเศษวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นลงในลำน้ำ การจัดให้มีแนวป้องกันน้ำฝน ระบบระบายน้ำ และบ่อตกตะกอน รองรับน้ำฝนก่อนระบายออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ และการจัดการเครื่องสูบน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่
ด้านคุณภาพอากาศ ออกมาตรการตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์รถบรรทุก รวมทั้งเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้างให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์พร้อมใช้งาน การฉีดพรมน้ำควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้านคุณภาพเสียงได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงแนวเส้นทางโครงการเกี่ยวกับรายละเอียดของการกิจกรรมก่อสร้าง โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีเสียงดัง รวมทั้งติดตั้งกำแพงกันเสียงทั้งประเภทชั่วคราวและถาวรในพื้นที่ก่อสร้าง และจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากชุมชน โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำ
24 ชั่วโมง และต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว
ทางด้านการคมนาคมขนส่ง อุบัติเหตุ และความปลอดภัย กำหนดให้มีการวางแผนการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง รวมทั้งติดตั้งเครื่องหมายจราจร ไฟเตือน ป้ายเตือน ตั้งแต่ก่อนถึงบริเวณก่อสร้างจนถึงบริเวณก่อสร้าง พร้อมจัดให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้แก่ให้ผู้สัญจรไปมา ได้รับความปลอดภัย และสะดวกในการเดินทาง…