วันพฤหัสบดี, ธันวาคม 19, 2024
ข่าวด่วนพัทยาสังคม

รับฟังความคิดเห็นระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา รถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way)

เมืองพัทยาเปิดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way)

วันที่ 24 ก.ย.63 ที่ห้องประชุมโรงแรมพูลแมน พัทยา จ.ชลบุรี เมืองพัทยา จัดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชน การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียวพัทยา การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนสาธารณะเมืองพัทยา ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way) อ.บางละมุง จ.ชลบุรี โดยเรือตรีปราโมทย์ ทับทิม ปลัดเมืองพัทยา เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา ท่ามมีตัวแทนภาคเอกชน และภาคธุรกิจ ตลอดจนคณะผู้บริการเมืองพัทยา และสื่อมวลชน

อาทิ นายภูมิพิพัฒน์ กมลนาถ เลขานุการนายกเมืองพัทยา นายวรพต พงษ์พาลี ผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา และนายอัมพร แสงแก้ว นายกสมาคมนักข่าวพัทยา เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาในครั้งนี้

เนื่องด้วยภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ส่งผลให้พื้นที่ รวมทั้งเมืองพัทยา เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งจำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาการสัญจรและการเดินทางของประชาชน เนื่องจากระบบขนส่ง สาธารณะในปัจจุบันยังไม่ได้มาตรฐาน

เมืองพัทยาจึงจัดทำโครงการศึกษา ความเหมาะสม ออกแบบ และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาในรูปแบบรถไฟฟ้า อ.บางละมุง จ.ชลบุรี และได้วางแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพัทยาเป็น 3 ระยะ ตั้งแต่ปี 2563 ถึง 2579 คือ แผนระยะสั้น แผนระยะกลาง แผนระยะยาว

โดยแผนพัฒนาได้กำหนดเส้นทางไว้ 19 เส้นทาง โดยมีเส้นทางหลัก 4 เส้นทาง และระบบขนส่งเสริมครอบคลุม 15 เส้นทางโดยมีเส้นทางนำร่องคือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่สถานีรถไฟ ความเร็วสูงพัทยา จนถึงแหลมบาลีฮาย ประกอบด้วยสถานีรถไฟฟ้า 13 สถานี และมีระยะห่างแต่ละสถานีประมาณ 650 – 700 เมตรสูงจากระดับถนนเดิมประมาณ 18 เมตร การก่อสร้างจะเน้นใช้พื้นที่เกาะกลางถนนเป็นหลักและมอีงค์ประกอบอื่น ที่สาคัญ เช่น สถานีซ่อมบารุง จุดจอดและจร และพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ หรือ TOD

ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนรวมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีขียวรวมทั้งสิ้น 26,923 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคือการก่อสร้างโครงการนรรวม 16,485 ล้านบาท ช่วงที่สองเป็นช่วงเปิดให้บริการรวม 10,438 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าดำเนินงาน ได้แก่ ค่าบุคลากร ค่าใช้จ่ายในการเดินรถ ค่าสาธารณูโภค ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และค่าบำรุงรักษา

จากผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้กำหนดทางเลือกรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน 6 รูปแบบ ดังนั้นทางเมืองพัทยา จึงได้กำหนดให้มีการจัดสัมมนา Market Sounding ในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและภาคธุรกิจ เอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับทราบข้อมูลโครงการ ตลอดจนกรอบแนวคิด แนวทางการดำเนินงานและกรอบระยะเวลา โดยเมืองพัทยาจะรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมงาน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุนในโครงการต่อไป…